จิตรกรรม

  จิตกรรมไทยปรากฏหลักฐานตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมา และมีอายุไม่เก่าไปกว่าพุทธศตวรรษ
ที่19  หลังจากนั้นวิวัฒนาการเรื่อยมา  จากเดิมเป็นลายเส้นง่ายๆ ก็เพิ่มสีสัน ติดทองคำเปลว จนเจริญ
สูงสุดในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จิตรกรรมไทยในอดีตส่วนใหญ่มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา เช่น
พุทธประวัติ อดีตพระพุทธเจ้า หรือ ทศชาติชาดก ผลงานมักปรากฏอยู่ตามวัด ดังจะเห็นได้จากฝา
โบสถ์   วิหาร หรือสถูป ตามพระบฏ หรือ สมุดข่อย เป็นต้น แต่ระยะต่อมาก็หันมาเขียนเรื่องทางโลก
มากขึ้น เช่น การใช้ชีวิตประจำวัน  ภาพพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ และอาจเขียนตาม
ฝาผนังหรือพระที่นั่ง หรืออาคารอื่นๆ นอกเหนือจากวัด 
        ลักษณะเด่นของจิตรกรรมไทยเดิม คือ ใช้รูปทรงตามอุดมคติ ไม่ปรากฏรูปทรงเหมือนจริง
ตามธรรมชาติ เน้นภาพด้วยเส้นเป็นสำคัญ ระบายสีแบนๆ ปราศจากแรงเงา แต่ละภาพมีแบบ
แผนแน่นอน เช่น หน้าพระ หน้านาง จึงเป็นการยากที่จิตรกรในอดีตจะถ่ายทอดอย่างมีอิสระ 
ความแตกต่างของตัวละครอาจแสดงด้วยค่าสีที่แตกต่างกัน ไม่คำนึงถึงสัดส่วนความเป็นจริง
เช่น ยอกฃดมงกุฎของเทวดาประทับนั่งพอดีกับพลับพลา ไม่คำนึงว่าจะยืนได้หรือไม่ มักเน้น
พฤติกรรมของตัวละคร ภาพเขียนอย่างต่อเนื่องในลักษณะพรรณาความ ไม่มีการแบ่งตอน
อย่างชัดเจน ตอนต่างๆ อาจสังเกตจากพฤติกรรมหรือส่วนประกอบของภาพ เช่น ภูเขา แม่น้ำ
กำแพง หรือ สร้างเส้นพิเศษขึ้นมา คือเส้นสินเทา ที่มีลักษณะซิกแซกกลมกลืนกับภาพ การ
จัดภาพมีลักษณะเหมือนมองจากที่สูงสู่ที่ต่ำ หรือ แบบตานกมอง การทำเช่นนี้จะช่วยให้ภาพ
แต่ละตอนสอดคล้องประสานได้ดี 
      สีและวัสดุที่ใช้เขียนหาได้จากธรรมชาติ มีเพียงไม่กี่สี ส่วนใหญ่เป็นสีขาว เหลือง แดง เขียว
และดำ สีขาวอาจทำจากดินขาว ปูนขาว ออกไซด์ของตะกั่ว สีดำได้จากเขม่าควันไฟ ผงถ่าน
สีเหลืองจากดินเหลือง ยางต้นรง หินหรดาล สีแดงจากดินแดง ขนพู่กันทำจากขนหูวัว แปรงทำ 
จากเปลือกกระดังงาหรือรากลำเจียก เป็นต้น ขั้นตอนการเขียนเริ่มจากฉาบปูนเป็นพื้น ปูนได้
จากปูนขาวผสมทรายละเอียด น้ำตาลและกาว ปูนควรปราศจากความเค็ม มิฉะนั้นจะทำให้
ภาพเสียหายเร็ว การขจัดอาจใช้น้ำต้มใบขี้เหล็กชโลมฝาผนังให้ทั่วถึง หากไม่แน่ใจเอาขมิ้น
ถูผิวปูนเพื่อทดสอบ หากรอยถูเป็นสีเหลืองแสดงว่าไม่มีความเค็ม หากเป็นสีแดงแสดงว่ามี
ความเต็ม เพราะขมิ้นทำปฎิกิริยากับเนื้อปูน เมือเตรียมพื้นเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปทาสี
รองพื้นสีขาวขุ่น ซึ่งได้จากกาวเม็ดมะขามผสมดินสอพอง จากนั้นจึงร่างภาพการร่างภาพ
อาจใช้กระดาษปรุลวดลายทาบบนฝาผนัง แล้วตบด้วยถุงแป้งขาว ฝุ่นแป้งจะผ่านรอยปรุ
เป็นจุดๆ ตามลวดลายบนกระดาษ ซึ่งง่ายต่อการลบ เพียงเป่าลมด้วยปากเท่านั้น สำหรับ
ผู้ชำนาญอาจใช้วิธีร่างบนภาพฝาผนังทันที จิตรกรรมไทยนอกจากเขียนสีแล้ว ยังมีกรรมวิธี
อื่นๆ ดังเช่น ในสมัยอยุธยาใช้ทองคำเปลวหรือเปลือกมุกติดเป็นรูปภาพหรือลวดลายต่างๆ
แทนการระบายสีเรียกว่า " ลายรดน้ำ " หรือ " ลายประดับมุก " โดยใช้ยางรักสีดำรองพื้น 
ทำให้ได้ภาพชัด เกิดประกายแวววาว นิยมใช้กับงานตกแต่งมากกว่าเล่าเรื่องราวใน
พุทธศาสนา   
        จิตรกรรมมีการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกับศิลปะแขนงอื่นๆ เริ่มจากสีไม่กี่สีและใช้อยู่ใน
ท้องถิ่นต่อมาสีต่างชาติเข้ามาทำให้มีสีมากขึ้น อีกทั้งเป็นสีสำเร็จรูปที่ใช้สะดวกยิ่งขึ้น
นอกจากนี้รูปแบบวิธีการก็เปลี่ยนแปลง ที่เห็นได้ชัดคือ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา
เริ่มใช้แนวทางจิตรกรรมตะวันตกกับงานจิตรกรรมไทย เขียนภาพเหมือนจริงและยึดหลัก
ธรรมชาติ 

1 ความคิดเห็น: